การออกแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์จากข้าวสังข์หยด โดยนำเสนอภูมิปัญญาของข้าวสังข์หยด จังหวัดพัทลุง
ศึกษาหาแนวการออกแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ข้าวสังข์หยดโดยนำเสนอภูมิปัญญาของข้าวสังข์หยดจังหวัดพัทลุง โดยใช้ภาพลักษณ์ของจังหวัดพัทลุงมาเป็นองค์ประกอบทางการออกแบบด้านภาพประกอบ พบว่า ด้านการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ข้าวสังข์หยดที่สร้างขึ้นสามารถนำเสนอภูมิปัญญาการปลูกข้าวสังข์หยด โดยเลือกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์โดยใช้สถานที่ขึ้นชื่อของจังหวัดพัทลุง ภูเขาอกทะลุ วังเจ้าเมือง พระพุทธรูปนิรโรคันตะรายชัยวัฒน์จตุรทิศ ตามลำดับ เพื่อเป็นตัวแทนภาพลักษณ์ด้านกราฟิก โดยมีความพึงพอใจต่องานภาพกราฟิกที่สร้างขึ้นมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 62 มีค่าเฉลี่ย 4.44
ฐานิดา นิ่มดำ
บทความ
Links
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
รวบรวมหนังสือที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมของชาติไทยไว้อย่างหลากหลาย เช่น มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประจำปี พุทธศักราช 2566, วัฒนธรรมภาคใต้, โนรา เป็นต้น
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
E-Book
Links
ศึกษาดนตรีหนังตะลุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ศึกษาวัฒนธรรมทางดนตรีประกอบการแสดงหนังตะลุงในอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ด้านทำนอง จังหวะ องค์ประกอบทางดนตรี และการบรรเลงประกอบการแสดงหนังตะลุงในมิติต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่า วัฒนธรรมทางดนตรีหนังตะลุงยืนหยัดอยู่ได้ด้วยขนบธรรมเนียมที่เข้มแข็งตามแบบฉบับดั้งเดิม ในส่วนของดนตรีพิธีกรรมหนังตะลุงพบว่าเครื่องดนตรีที่นิยมใช้ คือ ฉิ่ง โหม่ง กลอง ทับ ปี่ และซอ เป็นดนตรีทำนองเดียวที่มีการเคลื่อนที่โดยการอิงกุญแจเสียง เน้นการแปรทำนองด้วยการปรับระดับเสียงหรือจังหวะ มีรูปแบบจังหวะของหน้าทับและกลองตุ๊กที่หลากหลาย การกำหนดท่อนสะท้อนมาจากเจตนาของการบรรเลงของนักดนตรี ไม่ได้อิงหลักทฤษฎีดนตรีที่เคร่งครัด
อนุวัฒน์ เขียวปราง ปัญญา รุ่งเรือง
บทความ
Links
เรื่องเล่าโนรากับการพัฒนาสื่อทางวัฒนธรรม
ศึกษาเรื่องเล่าโนราจากเอกสารสำคัญและคำบอกเล่าของโนราและชาวบ้านผู้เป็นเจ้าของวัฒนธรรม และนำเสนอในรูปแบบของหนังสือภาพและหนังสือนำเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจากเรื่องเล่าโนรา พื้นที่ที่ปรากฏเรื่องเล่าตำนานโนรา มี 3 พื้นที่หลัก ๆ คือ 1) โคกเมืองบางแก้ว ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ปรากฏเรื่องเล่าเกี่ยวกับเมืองของพระยาสายฟ้าฟาดผู้เป็นพระอัยกาของขุนศรีศรัทธา 2) หาดคูลา บ้านแหลมคูลา และสวนพระเทพสิงหร บ้านแหลมเจ้า ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา ปรากฏเรื่องเล่าเกี่ยวกับพื้นที่ที่นางนวลทองสำสี อาศัยอยู่ภายหลังจากการถูกลอยแพ และ 3) วัดท่าแค ตำบลท่าแค อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ปรากฏเรื่องเล่าเกี่ยวกับการเป็นที่อาศัยสุดท้ายของขุนศรีศรัทธา
รื่นฤทัย รอดสุวรรณ, เอกพงษ์ คงฉาง
E-Book
Links
โนรา : การเปลี่ยนแปลงการปรับตัวและพลังสร้างสรรค์ในการดำรงอยู่ของคีตนาฏยลักษณ์แห่งภาคใต้
ประวัติและพัฒนาการของโนราในภาคใต้ นักวิชาการและผู้รู้ท้องถิ่นต่างเน้นย้ำว่าแหล่งกำเนิดโนราหรือพัฒนาการของโนรานั้นอยู่ในบริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา คือพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดพัทลุงในปัจจุบัน และบางส่วนของพื้นที่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสงขลาที่เป็นรอยต่อของทะเลสาบสงขลา มโนรามีการปรับตัวและการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยด้วยเหตุและปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไปโดยธรรมชาติของวัฒนธรรมพื้นบ้านที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและวิทยาการสมัยใหม่ การรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากภายนอก การศึกษามีความก้าวหน้า ความสะดวกรวดเร็วในการคมนาคมและการสื่อสาร การเข้ามาสนับสนุนและส่งเสริมของนักวิชาการและสถาบันการศึกษา การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม โนราจึงต้องปรับตัวทั้งรูปแบบและเนื้อหาเพื่อให้สามารถสนองตอบความต้องการและค่านิยมของสังคมในแต่ละช่วงเวลาจึงจะสามารถดำรงอยู่ได้มาจนถึงปัจจุบัน และการดำรงอยู่ของโนรานั้นยังเกิดจากพลังสร้างสรรค์ของโนราด้วย โนราจึงมีบทบาทหน้าที่ทั้งด้านความบันเทิง การประกอบพิธีกรรม การสร้างเอกภาพและสัมพันธภาพในสังคม การถ่ายทอดวัฒนธรรมชุมชน รวมทั้งการสร้างอัตลักษณ์ ศักยภาพ และภูมิปัญญาท้องถิ่นและหน้าที่อื่น ๆ
พิทยา บุษรารัตน์, เบ็ญจวรรณ บัวขวัญ
บทความ
Links
โนรา : ศิลปะการร้อง รำ ที่ผูกพันกับชีวิต
กล่าวถึงความรู้และคุณค่าของโนรา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสำคัญของโนราและบทบาทที่มีต่อสังคมท้องถิ่น ประวัติและวัฒนาการ จารีตและวิถึการแสดง รวมถึงแบบแผนทางสุนทรียศาสตร์
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
E-Book
Links
โนรา ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ขององค์การยูเนสโก
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2564 ที่ประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intergovernmental Committee for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage: ICS-ICH) ครั้งที่ 16 ผ่านการประชุมทางไกลเต็มรูปแบบ มีมติให้ขึ้นทะเบียน “โนรา” หรือ “Nora, Dance Drama in Southern Thailand” ในบัญชีรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity – บัญชี RL) ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ค.ศ. 2003 (2003 Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage) ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก
**กระทรวงการต่างประเทศ. (2564). "โนรา" ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ขององค์การยูเนสโก. กรุงเทพฯ : กระทรวงการต่างประเทศ.
United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization : UNESCO
ฐานข้อมูล
Links