การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของหนานมดแดง อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง |
ศึกษาสภาพปัจจุบันของสถานที่ท่องเที่ยวหนานมดแดง อำเภอป่าพะยอมจังหวัดพัทลุง ศึกษาศักยภาพของสถานที่ท่องเที่ยวหนานมดแดง ศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ท่องเที่ยวหนานมดแดง และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนให้แก่สถานที่ท่องเที่ยวหนานมดแดง อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง พบว่า แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของหนานมดแดง คือ ต้องมีการจำกัดปริมาณการเข้ามาของนักท่องเที่ยวเพื่อไม่ให้พื้นที่ดูแออัดจนเกินไป ควรมีกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อื่น ๆ เพิ่มเติม รวมถึง หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนควรจัดสรรบุคลากรเข้ามาให้ความรู้ เปิดโอกาสให้ชุมชนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารและการจัดการพื้นที่ท่องเที่ยว |
จันทร์จิรา สุขบรรจง, สมยศ วัฒนกมลชัย |
บทความ
|
|
การพัฒนาศักยภาพกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยวัฒนธรรมมโนราห์ตําบลท่าแค อําเภอเมือง จังหวัดพัทลุง |
เป็นการศึกษาศักยภาพในการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยวัฒนธรรมมโนราห์ ตําบลท่าแค อําเภอเมือง จังหวัดพัทลุง และศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยวัฒนธรรมมโนราห์ ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนท่าแคมีศักยภาพในการดําเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยวัฒนธรรมมโนราห์ กิจกรรมที่มีศักยภาพที่จะนํามาพัฒนาเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ คือ กิจกรรมชมแหล่งเรียนรู้มโนราห์ท่าแค กิจกรรมหัดรํามโนราห์ และกิจกรรมร้อยลูกปัดมโนราห์ แนวทางการส่งเสริมศักยภาพกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยวัฒนธรรมมโนราห์ คือร่วมผลักดันยกระดับงานวัฒนธรรมมโนราห์โรงครูท่าแคให้มีความยิ่งใหญ่ระดับประเทศเพื่อให้มีนักท่องเที่ยวจากต่างภูมิภาคเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่มากยิ่งขึ้น, มีกิจกรรมการท่องเที่ยวรองในพื้นที่ และมีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อในรูปแบบที่หลากหลายและสม่ำเสมอ |
จินตนา กสินันท์ ชัชวาล ชุมรักษา ขรรค์ชัย แซ่แต้ ศิลป์ชัย สุวรรณมณี พลากร คล้ายทอง วิลาสินี ธนพิทักษ์ |
บทความ
|
|
การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่ชุมชนลุ่มน้ำคลองป่าพะยอมคลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง |
แหล่งท่องเที่ยวและสามารถพัฒนาเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ได้ พบว่า แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่ชุมชนลุ่มน้ำคลองท่าแนะ-คลองป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง สามารถกำหนดเค้าโครง (Theme) ของชุดกิจกรรม และเส้นทางการท่องเที่ยวที่สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ได้ 3 ธีม ดังนี้ 1) เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ “ตักศิลาไสยเวทย์ สมุนไพรเมืองพัทลุง” 2) เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ “วิถีนาพัทลุง ชมหลาด กินอาหารเมืองลุง” และ 3) เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ “เกษตรคนต้นน้ำ เรียนรู้ตำนานป่าเขา” |
นิจกานต์ หนูอุไร, วาสนา สุวรรณวิจิตร, จิราพร คงรอด,อรศิริ ลีลายุทธชัย, อัตถพงศ์ เขียวแกร |
E-Book
|
|
สถานการณ์การท่องเที่ยวจังหวัดพัทลุง ปี 2559-2561 |
นำเสนอข้อมูลจำนวนผู้มาเยี่ยมเยือน (นักท่องเที่ยวและนักทัศนาจร) ,จำนวนสถานที่พักแรมและจำนวนห้องพัก, รายได้จากการท่องเที่ยว ฯลฯ ตั้งแต่ปี 2559-2561 ในจังหวัดพัทลุง และข้อเสนอแนะเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดพัทลุง |
สำนักงานสถิติจังหวัดพัทลุง |
บทความ
|
|
สถานการณ์การท่องเที่ยวจังหวัดพัทลุง ปี 2562 |
เปรียบเทียบจำนวนผู้มาเยี่ยมเยือน (นักท่องเที่ยวและนักทัศนาจร) ปี 2560-2562, รายได้จากการท่องเที่ยว ปี 2562, จำนวนสถานประกอบการที่พักแรมและจำนวนห้องพัก ฯลฯ ในจังหวัดพัทลุง และข้อเสนอแนะเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดพัทลุง |
สำนักงานสถิติจังหวัดพัทลุง |
บทความ
|
|
แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว: กรณีศึกษาทะเลน้อย อําเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง |
เป็นการศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว : กรณีศึกษาทะเลน้อย อําเภอ ควนขนุน จังหวัดพัทลุง เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปปัญหาของแหล่งท่องเที่ยว มาวิเคราะห์หาความเหมาะสมของการพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวในอนาคต
ผลการศึกษาพบว่า แหล่งท่องเที่ยวทะเลน้อยมีศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยว โดยเฉพาะจากการท่องเที่ยวเชิงนิเวศจากการสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐที่ต้องการสนับสนุนการท่องเที่ยวเมืองรอง และสร้างรายได้เข้าสู่พื้นที่ รูปแบบการท่องเที่ยวหลักของพื้นที่ คือ การท่องเที่ยวทางธรรมชาติ หลักการการพัฒนาของภาครัฐและการพัฒนาที่พักอาศัย การบริการและสิ่งอํานวย ความสะดวก สําหรับนักท่องเที่ยว จําเป็นจะต้องมีแนวทางในการพัฒนาที่เหมาะสม แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว กรณีศึกษาทะเลน้อย อําเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง จะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ ตามศักยภาพของพื้นที่ โดยการพัฒนาเพื่อแหล่งท่องเที่ยว ทะเลน้อยเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและนักท่องเที่ยว |
พิมพ์ชนก จ่ายวานิช |
E-Book
|
|
โมเดลกระจูดแก้จน ชุมชนตำบลทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง |
เป็นงานวิจัยที่พัฒนาโมเดลกระจูดแก้จน เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของกลุ่มเปราะบางในตำบลทะเลน้อย ซึ่งเน้นการพัฒนาทักษะการผลิตสินค้ากระจูดเพื่อให้สามารถจำหน่ายในราคาที่สูงขึ้น โดยแนวทางโมเดลกระจูดแก้จนเน้นกระบวนการเปลียนแปลง 2 ประเด็น คือ 1. การพัฒนาความรู้และทักษะของกลุ่มคนจนเป้าหมายด้านการผลิตและการตลาด 2. การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเลน้อยคราฟ |
อภินันท์ เอื้ออังกูร,สานิตย์ ศรีชูเกียรติ, พรพันธ์ เขมคุณาสัย, ทิพย์ทิวา สัมพันธมิตร, สมัคร แก้วสุขแสง ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ |
บทความ
|
|